เกี่ยวกับองค์กร

          การดำเนินงานต่างๆของรพ.สต.จะได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย เช่น ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการทำโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล ,ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางเลน ,ได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลหินมูลในการจัดเตรียมสถานที่  ดำเนินการคัดกรองสุขภาพประชาชนในหมู่บ้าน   เป็นต้น
เป้าประสงค์หลักของหน่วยงาน
1. ประชาชนได้รับการส่งเสริม  ป้องกัน รักษาพยาบาล  และฟื้นฟูโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพ
2  ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามทางสุขภาพ
3  ประชาชนมีได้รับการคุ้มครองด้านการบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพที่มีความปลอดภัย
4.  ภาคีสุขภาพมีส่วนร่วม และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขภาพอย่างเข้มแข็ง
5.  องค์กรด้านสนับสนุนและด้านบริการมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
6.  ระบบการจัดการสารสนเทศสุขภาพมีคุณภาพ
7.  มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและเกื้อกูล มีความผูกพันและความผาสุกในการปฏิบัติงาน
วัฒนธรรมขององค์กร : มีจิตบริการ  ทำงานเป็นทีม 
ค่านิยมขององค์กร     : พัฒนาคุณภาพบริการ ประสานการมีส่วนร่วม สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่ประชาชนมีสุขภาพดี
รุปการวิเคราะห์องค์กร โดยใช้ SWOT  Analysis

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลหินมูล   อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม

จุดแข็ง (Strengths)
1.เจ้าหน้าที่มีความสามัคคี   ช่วยเหลือกันทำงาน  มีการทำงานเป็นทีม
2.มีเงินบำรุงเพียงพอในการบริหารงาน
3.มีเจ้าหน้าที่อยู่เวร 24 ชั่วโมง

จุดอ่อน (Weaknesses)
1.ภาระงานและปริมาณงานมีมากกว่าจำนวนเจ้าหน้าที่
2.ขาดความรู้ด้าน IT / โปรแกรม Hos-XP
3.การบริหารงานไม่สนับสนุนการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ผู้บันทึกข้อมูล
4.ขาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ IT พร้อมในการใช้งาน
โอกาส (Opportunities)
1.อปท.ให้การสนับสนุนงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นอย่างดี
2.โรงพยาบาลเครือข่ายสนับสนุนการทำลายขยะติดเชื้อ
3.อสม.มีความเข้มแข็งในการปฏิบัติงาน
4.เจ้าหน้าที่มีการช่วยเหลือกันภายในโซน
อุปสรรค(Threats)
1.มีประชากรแอบแฝงจำนวนมาก
2.การสื่อสารเสียงตามสายไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
3.มีการจัดประชุม/อบรม บ่อยครั้งทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง
4.ประชาชนไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค






สรุปปัญหาสุขภาพ/ความเสี่ยงที่สำคัญ

     
             ตัวเกณฑ์
ปัญหา
ความร้ายแรงและเร่งด่วนของปัญหา
ขนาดของกลุ่มชนและพื้นที่ที่ถูกกระทบจากปัญหา
ขนาดของปัญหา
ความเสียหายในแง่การพัฒนา
การยอมรับปัญหาร่วมกันของชุมชน
คะแนนรวม
ลำดับ

(น้ำหนัก)     4
(น้ำหนัก)     4
(น้ำหนัก)     3
(น้ำหนัก)     3
(น้ำหนัก)     4



(คะแนน)
(คะแนน)
(คะแนน)
(คะแนน)
(คะแนน)


1.ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและผู้พิการ
4         (16)
4           (16)
4             (12)
4            (12)
4         (16)
72
1
2.โรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน
4         (16)
4           (16)
2              (6)
3            (9)
4         (16)
63
2
3.โรคไข้เลือดออก
3         (12)
4           (16)
3              (9)
2            (6)
4         (16)
57
3

4.โรควัณโรค

4         (16)

4           (16)

1              (3)

3            (9)

3         (12)

56

4
5.อุบัติเหตุ
4         (16)
2           (8)
2              (6)
3            (9)
3         (12)
51
5
สรุปประเด็นปัญหาสุขภาพด้านสาธารณสุขจากการประชาคมของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลหินมูล ปี2561



สรุปประเด็นปัญหาในพื้นที่ OTOP
          จากการประชาคมหมู่บ้าน ร่วมกับ อบต.หินมูล ผู้นำชุมชน อสม. หน่วยงานราชการในพื้นที่ และประชาชนทั่วไป เพื่อเสนอ     ปัญหาสุขภาพและสอบถามความต้องการของประชาชน จึงสรุปปัญหา 3 อันดับแรก และเลือกการแก้ไขปัญหา ดังนี้คือ
1.      ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง/ผู้พิการ       (เลือกเป็นปัญหาในพื้นที่ที่ต้องดำเนินการ OTOP)
2.      โรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน 
3.      โรคไข้เลือดออก 

ประเด็นปัญหาจาก อพช.
1.      ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม
2.      ปัญหาอุบัติเหตุ
3.      ปัญหาคุ้มครองผู้บริโภค

แผนงาน/โครงการที่สนับสนุนการแก้ปัญหา OTOP และ อพช.
          จากการประชุมร่วมกันของทุกภาคส่วนในตำบลหินมูล ได้สรุปแนวทาง แผนงาน และโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนและแก้ไขปัญหาทั้ง OTOP และ อพช. ดังนี้

 



ประเด็นปัญหาสุขภาพในพื้นที่ OTOP ปัญหาผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง/ผู้พิการ
การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการในชุมชน เป็นงานที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งในสังคมไทยที่กําลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุมีจํานวนเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้นเช่นกัน ในส่วนของผู้พิการนั้นก็พบว่าจำนวนผู้พิการในตำบลสูงมาก ดังนั้นการเตรียมความพร้อม เกี่ยวกับระบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการจึงเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งจะทําให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและดํารงชีวิตอยู่ในสังคมไทยได้อย่างมีคุณค่าต่อไป  ทาง รพสต. หินมูล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดบริการสุขภาพและสังคมที่มีรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ อันเนื่องมาจากภาวการณ์เจ็บป่วยเรื้อรัง การประสบอุบัติเหตุ ความพิการต่างๆ ตลอดจนผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจําวัน โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟู บําบัด รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดําเนินชีวิตให้เป็นอิสระเท่าที่จะเป็นไปได้ จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินมูล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม  ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการในระยะยาว อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยชุมชน จึง ร่วมคิด ร่วมทำงาน วางแผนงาน โครงการหมอครอบครัว ใส่ใจ ผู้สูงวัย(ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ และ ผู้ด้อยโอกาส ตำบลหินมูล ปี 2561 โดยมีกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงาน ดังนี้
๑ ประชุมชี้แจงข้อมูลด้านสุขภาพผู้สูงอายุ และปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ
๒.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ แก่ทีมสุขภาพ ได้แก่ ญาติ อสม. จิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ และแกนนำผู้สูงอายุ โดยมีวิทยากรจากรพ.หลวงพ่อเปิ่นมาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัด และการแลผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานๆ เช่น ข้อติด , แผลกดทับ และการเกิดพยาธิสภาพที่ปอด เป็นต้น
3. ประสานงานกับทีมหมอครอบครัว  โดยมีทีมสหวิชาชีพ , ชมรมอสม., ผู้นำชุมชน ในการออกเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้พิการเมื่อพบปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุรายบุคคล นำข้อมูลมาปรึกษาและจัดบริการดูแลสุขภาพ  โดยประสานทีมที่ปรึกษา รพ.บางเลน
4. ออกเยี่ยมผู้สูงอายุ สำรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 12 โรค จากแบบคัดกรองของกรมอนามัยเพื่อรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ  ในการจัดบริการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุให้เหมาะสม ร่วมกับทีมสุขภาพระดับชุมชน ระดับหน่วยงาน(รพ.สต.ในโซน)  และระหว่างหน่วยงาน  ซึ่งมีข้อมูลสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ ดังนี้
ผู้สูงอาย    ทั้งหมด 898 คน จำแนกประเภทตามความสามารถของผู้สูงอายุ ดังนี้
1.กลุ่มติดสังคม                                         จำนวน   889 ราย
2.กลุ่มติดบ้าน                                          จำนวน     15 ราย
3.กลุ่มติดเตียง                                          จำนวน       6 ราย
ผู้พิการ ทั้งหมด 144 คน จำแนกประเภทตามความพิการ ดังนี้
1.      ประเภทการเคลื่อนไหว        80 คน           5. ประเภทจิตใจ          8 คน
2.      ประเภทการสื่อความหมาย    20 คน           6. ประเภทการเรียนรู้     1 คน  
3.      ประเภทสติปัญญา              18 คน           7. ประเภท ออทิสติก     1 คน  
4.      ประเภทการมองเห็น           11 คน           8. ประเภท ซ้ำซ้อน       7 คน



แบบเสนอแผนงาน /โครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล

เรื่อง  ขอเสนอโครงการหมอครอบครัว ใส่ใจ ผู้สูงวัย(ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ และ ผู้ด้อยโอกาส ตำบลหินมูล  
        ปี 2561

เรียน  ประธานคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล

         ด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลหินมูล มีความประสงค์จะจัดทำโครงการสงเคราะห์ผู้สูงวัย ใส่ใจ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในปีงบประมาณ 2561 โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล เป็นเงิน 34,80 บาท  โดยมีรายละเอียดแผนงาน และโครงการดังกล่าว  ดังนี้

ส่วนที่1 รายละเอียดโครงการสงเคราะห์ผู้สูงวัย ใส่ใจ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ป่วยเรื้อรัง (ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง)

. หลักการและเหตุผล

          สภาพสังคมในปัจจุบันประเทศไทยกำลังมุ่งเข้าสู่สังคมแห่งผู้สูงวัย ทั้งนี้ผู้สูงอายุจำนวนมากขาดการดูแลเอาใจใส่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรืออยู่กับเด็กในวัยเรียนและก่อนวัยเรียน โดยบุตรหลานวัยทำงานต้องดิ้นรนออกไปทำงานนอกพื้นที่ เพราะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเกิดการชะลอตัวค่าครองชีพเครื่องอุปโภคบริโภค มีราคาสูง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายทำให้บุตรหลานไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุบางรายปล่อยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพังด้วยเงินเบี้ยยังชีพเท่านั้น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต หลายรายในสังคมมีโรคประจำตัวหรือต้องเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไม่มีโอกาสได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มหรือชมรมต่างๆ บางรายอาจเกิดความน้อยใจหรือหมดกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป  ประกอบกับในปัจจุบันการดำเนินงานสาธารณสุขเน้นการทำงานเชิงรุก โดยส่งเสริมการแก้ปัญหาระบบบริการ ด้วยคลินิกหมอครอบครัว(PP : Primary care cluster) ซึ่งทีมหมอครอบครัวในระดับตำบล/หมู่บ้าน นั้น ประกอบไปด้วย ทีมที่มีเจ้าหน้าที่ จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลหินมูล  ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล   อสม. อบต.  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  จิตอาสา  และชุมชน   ในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ผู้พิการที่ต้องได้รับการดูแล ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง  (palliative Care)  เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นทั้งด้าน ร่ายกาย จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม

          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลหินมูล จึงได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล จัดทำโครงการหมอครอบครัว ใส่ใจ ผู้สูงวัย (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ และ ผู้ด้อยโอกาส ตำบลหินมูล ปี 2561 โดยจะจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้าน  และตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ(ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง  (palliative Care) โดยประชุมร่วมกันระหว่าง ทีมหมอครอบครัวตำบลหินมูล ผู้บริการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ และภาคเอกชน เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุ(ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง  (palliative Care) โดยการกำหนดการออกเยี่ยมบ้าน พร้อมทั้งมีการพูดคุยและตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อสร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิตและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับ ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยต่อไป






. วัตถุประสงค์ของโครงการ

          ๒.๑ เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุ  (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อสม. ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ให้มีความรู้เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขอนามัย ของผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
          ๒.๒ เพื่อประชุมหารือในการให้ช่วยเหลือผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
          ๒.๓ เพื่อลงพื้นที่เยี่ยมบ้านและประเมินภาวะสุขภาพของ ผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง)  ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ที่ไม่สามารถออกมาร่วมกิจกรรมในชุมชนได้ ร่วมกันระหว่าง รพ.สต. ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อสม. ชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ เป็นต้น
           ๒.๔ เพื่อสร้างกำลังใจให้กับผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ให้เห็นคุณค่าของชีวิต และพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไป
           ๒.๕ เพื่อการบูรณาการฯ การทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ กับท้องถิ่น

3. วิธีการดำเนินการ

           3.๑ เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริการส่วนตำบล  หินมูล เพื่อขออนุมัติโครงการ
                   3.๒ ประสานงานกับ คณะผู้บริหาร/เจ้าหน้าที่ อบต.หินมูล  กลุ่ม อสม.ตำบลหินมูล  ชมรมผู้สูงอายุตำบล หินมูล และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนด แนวทางการดำเนินงานโครงการฯ
                   3.๓ ดำเนินการจัดฝึกอบรม
                   3.๔ ประชุมเพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางการเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย
                   3.๕ ทีมหมอครอบครัว ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ร่วมกับชมรม อสม. ตำบลหินมูล ชมรมผู้สูงอายุ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
                   3.๖ สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

4. ระยะเวลาดำเนินงาน  

                   เดือน มีนาคม  – กันยายน 2561

5. สถานที่ดำเนินงาน

            - อบรม/ประชุม ณ ศาลาอเนกประสงค์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินมูล
           - เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง     ในพื้นที่ ตำบลหินมูล






6. งบประมาณ
           ขอรับงบประมาณสนับสนุนจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ จำนวน 34,80๐ บาท   ดังนี้

6.1  กิจกรรมอบรมกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ
-  ค่าจ้างทำอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการเข้าร่วมอบรม
จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท จำนวน  2 มื้อ                                   เป็นจำนวนเงิน   5,000  บาท
-  ค่าจ้างทำอาหารกลางวัน  สำหรับผู้เข้าร่วมสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการเข้าร่วมอบรม
จำนวน 100 คนๆละ 50 บาท                                                     เป็นจำนวนเงิน  5,0๐๐  บาท

ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ                                                 เป็นจำนวนเงิน      ๕๐๐  บาท  
-  ค่าวัสดุในการอบรม                                                              เป็นจำนวนเงิน  2,7๐๐  บาท

6.2 กิจกรรม อบรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่หมอครอบครัวดูแล ผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการ
-  ค่าจ้างเหมาทำอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับทีมหมอครอบครัว ที่เข้าร่วมอบรม  จำนวน 60 คน  
คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ                                                               เป็นจำนวนเงิน   3,000  บาท
- ค่าจ้างเหมาทำอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับหมอครอบครัว ที่เข้าร่วมอบรม 
จำนวน 60 คน คนละ 50 บาท                                                   เป็นจำนวนเงิน   3,000  บาท                      
-  สมุดคู่มือผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ 60 เล่ม  ๕๐ บาท    เป็นจำนวนเงิน   3,000  บาท

-  ค่าวัสดุในการอบรม                                                              เป็นจำนวนเงิน  3,000  บาท

6.3 กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง/ผู้พิการ
- ค่าอาการกลางวันและน้ำดื่มสำหรับทีมหมอครอบครัว                           เป็นจำนวนเงิน             3,600  บาท
จำนวน 6 คนๆละ 50 บาท/วัน จำนวน 12 วัน                                 
- ค่าจ้างรถยนต์ในการพาทีมหมอครอบครัวออกเยี่ยมบ้าน                        เป็นจำนวนเงิน   6,000  บาท
จำนวน 1 คัน วันละ 500 บาท จำนวน 12 วัน                                 
                                                                                      รวมเป็นเงิน      9,6๐๐ บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น           เป็นจำนวนเงิน    34,80๐  บาท
หมายเหตุ   ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทั้งหมด
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
         7.๑ ญาติ/ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านการดูแล ผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง”
          7.๒ ผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ได้รับการเยี่ยมบ้าน และประเมินและแก้ไขภาวะสุขภาพ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกัน
           7.๓ ผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และผู้ดูแลหรือญาติ ได้รับกำลังใจจาก ทีมเยี่ยมบ้าน
           7.๔ ผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และผู้ดูแลหรือญาติ มีกำลังใจและ สามารถที่จะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข
           7.๕ ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง


สรุปผลการดำเนินงานแก้ปัญหาสำคัญในพื้นที่ OTOP ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง/ผู้พิการ
          ๑. เกิดแกนนำหรือหมอครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการจำนวน60คนโดยแบ่งตามละแวกและมอบหมายภารกิจให้มีการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 6 คน ผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 15 คน  ผู้พิการ 144 คนพร้อมรายงานผลการดาเนินงานทุกสิ้นเดือน
          ๒. แกนนำและทีมหมอครอบครัว (ผู้นำชุมชน/อสม./เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) ออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสทุกราย
          ๓. ผู้สูงอายุติดเตียงได้รับการฟื้นฟูสุขภาพจากทีมหมอครอบครัวจำนวน ๖ ราย ผลที่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น คะแนน ADL เพิ่มขึ้น สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง
          ๔. เนื่องจากมีนโยบายเรื่องที่หมอครอบครัวเข้ามาทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินมูล จึงเกิดการบูรณาการกิจกรรมเข้าด้วยกัน เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆกับท้องถิ่น
สรุปความพึงพอใจโครงการหมอครอบครัว ใส่ใจ ผู้สูงวัย(ติดบ้าน ติดเตียง) ผู้พิการ  ตำบลหินมูล
                                                  หัวข้อ
คะแนน (ร้อยละ)
1. รพ.สต.มีการประชาสัมพันธ์บริการต่างๆที่จัดให้กับประชาชนในพื้นที่ทราบอย่างทั่วถึง
6%
2. ทีมหมอครอบครัวมีหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส ให้บริการดี เป็นกันเอง ทำให้ท่านมีกำลังใจมากขึ้น
70%
3.ท่านได้รับคำอธิบายเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
10%
4.ท่านได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วยหรือเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
10%
5.มีบุคลากรเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล เช่น แพทย์ เภสัช ออกเยี่ยมบ้าน ทุกครั้ง
4%
          จากการสำรวจความพึงพอใจโครงการหมอครอบครัว ใส่ใจ ผู้สูงวัย(ติดบ้าน ติดเตียง)ผู้พิการ และ ผู้ด้อยโอกาส ตำบลหินมูลจำนวน  30  คน พบว่า ในหัวข้อที่ 2 คือ ทีมหมอครอบครัวมีหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใสให้บริการดี เป็นกันเอง ทำให้ท่านมีกำลังใจมากขึ้น คิดเป็น 70%



นวัตกรรม  ปฏิทิน สื่อ รักษ์

หลักการและเหตุผล
          จากการดำเนินการตามนโยบายหมอครอบครัว  ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดตัวทีมหมอครอบ 30,000 ทีม ทั่วประเทศ ปฏิรูปการดูแลสุขภาพประชาชนเขตเมือง เขตชนบทรูปแบบใหม่ ดูแลถึงระดับครัวเรือนทำงานร่วมกับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการที่อยู่ที่บ้าน และช่วยเหลือให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติของครอบครัว เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทางรพ.สต.หินมูล จึงมีความจำเป็นที่ต้องประสานงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพต่างๆในการลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วย รวมถึงการประสานงานกับบุคลากรใน รพ.สต.เอง  แต่เนื่องด้วยเวลาในการปฏิบัติงานไม่ตรงกัน หรือในบางครั้งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน จึงได้จัดทำนวัตกรรม ปฏิทิน สื่อ รักษ์ ขึ้น เป็นการวางแผนการเยี่ยมไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นประโยชน์ในการนัดวันลงเยี่ยมผู้ป่วยในชุมชน  ลดความผิดพลาดในการลืมเยี่ยมบ้าน หรือ ลืมทำหัตถการให้กับผู้ป่วยที่บ้านบางรายในกรณีที่ผู้รับผิดชอบงานไม่ได้มา ปฏิบัติงานในวันดังกล่าว นวัตกรรม ปฏิทิน สื่อ รักษ์ จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ส่งเสริมให้การบริการผู้ป่วยในชุมชน ของ รพ.  สต.หินมูล  ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามนโยบายการดำเนินงานหมอครอบครัว
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อเป็นการวางแผนล่วงหน้าในการลงเยี่ยมผู้ป่วยในชุมชน ตามกลุ่มเป้าหมายทีมหมอครอบครัว
          2. เพื่อเป็นตัวช่วยในการสื่อสารระหว่างบุคลากรทั้งภายในหน่วยงาน     และนอกหน่วยงานเกี่ยวกับกิจกรรมการเยี่ยมผู้ป่วยที่    บ้าน
          3. ลดความผิดพลาดในการลืมเยี่ยมบ้าน หรือ ลืมทำหัตถการให้กับผู้ป่วยที่บ้าน
 กลุ่มเป้าหมาย
          1. เจ้าหน้าที่ใน รพ.สต.หินมูล
          2. ทีมหมอครอบครัว ระดับตำบล และชุมชน
          3. ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายเยี่ยมบ้าน ทีมหมอครอบครัว
วิธีดำเนินการ
 1.ขั้นตอนการจัดทำนวัตกรรม
1.1 เตรียมอุปกรณ์ ดังนี้
          -แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด ขนาด65 x 81 cm.  1 แผ่น
          -ขวดพลาสติก  ขนาด 60 cc.33  อัน
          -กรรไกร 1 อัน
          -กระดาษกาว 1 ม้วน
          -กระดาษสี
          -แล็คซีน ขนาด 2 นิ้ว 1 ม้วน
             - กาวสองหน้าอย่างหนา  1ม้วน



1.2 นำขวดยาพลาสติก ตัดปากขวดออก จำนวน 33 ขวด
1.3 ตัดกระดาษสี เป็นป้ายหมายเลข 1 – 31
1.4 ติดหมายเลขที่ขวดยาทั้งหมด นำขวดยาติดลงบนฟิวเจอร์บอร์ด เรียงหมายเลข 1 31
1.5 นำฟิวเจอร์บอร์ด ตัดเป็นกรอบ สำหรับเสียบป้าย เดือน  และ ปี พ.ศ.
1.6 ติดแถบแล็กซีน เก็บขอบฟิวเจอร์บอร์ดให้เรียบร้อย
1.7 นำกระดาษพิมพ์รายชื่อผู้ป่วย ตัดเป็นแผ่นป้าย ไว้สำหรับเสียบลงในช่อง ตามวันที่ โดยแยกกลุ่มผู้ป่วยตามแถบสี     โดยจัดทำแถบสีติดที่ป้ายชื่อ และ Family folder ให้ตรงกันเพื่อความสะดวกในการค้นหา

         

2.ขั้นตอนการใช้นวัตกรรม
          2.1 จัดทำแผนการเยี่ยมผู้ป่วย ประจำเดือนในแต่ละเดือน
          2.2 เสียบแผ่นป้ายชื่อผู้ป่วยที่ต้องการเยี่ยมหรือมีหัตถการที่ต้องทำที่บ้านผู้ป่วย ลงในช่องประจำวันที่
2.3 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ตามวันที่ ที่ใส่แผ่นป้านชื่อไว้
2.4 หากต้องการดู ข้อมูลผู้ป่วย สามารถหยิบ  Familyforderตามป้ายแถบสี ที่ตรงกับ แผ่นป้ายชื่อบนปฏิทิน
ประโยชน์ที่ได้รับ
          1. ช่วยในการวางแผนการเยี่ยมผู้ป่วย ลดความผิดพลาดในการลืมเยี่ยมบ้าน
          2. ใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารสำหรับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน และ ต่างหน่วยงาน
          3. ช่วยในการเตือนความจำเจ้าหน้าที่ในการออกทำแผลเปลี่ยนสาย NG, ฉีดยาจิตเวช ให้กับผู้ป่วยที่บ้าน




การดำเนินงาน รพ.สต.ติดดาว 5 ดาว
หมวดที่ ๑ การนำองค์กร และการจัดการดี
          มีการจัดตั้งและดำเนินงานร่วมกันของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และระดับตำบล โดยมีตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในอำเภอ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน และสาธารณสุขอำเภอเป็นกรรมการและเลขานุการ ในการจัดทำแผนงานและวางแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อีกทั้งมีการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารการดำเนินงานผ่านคณะทำงานต่างๆในระดับตำบล เช่น คณะกรรมการสนับสนุนขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพระดับตำบล (THS)และ รพ.สต.ติดดาว  คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหินมูล เป็นต้น
          มีแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด /อำเภอ และมีการจัดแผนงาน/โครงการ/แผนปฏิบัติงาน ของรพ.สต.หินมูล ตามประเด็นปัญหาสุขภาพของพื้นที่ มีการกำกับติดตามความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงานเพื่อคืนข้อมูลให้กับคณะกรรมการ THS
          การบริหารงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินมูล มีคำสั่งมอบหมายงานที่ชัดเจน ตามระเบียบข้อบังคับต่างๆ การจัดการการเงินและบัญชี มีการกำกับติดตาม การตรวจสอบ การเงิน การคลัง เพื่อป้องกันการทุจริตโดยคณะกรรมการตรวจสอบภายในของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางเลน ปีละ ๒ ครั้ง นอกจากนี้ยังได้รับการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนระบบบริการจากแม่ข่ายรพ.บางเลนครอบคลุมงาน IT, IC, LAB เภสัชกร และ RDU/ คบส. โดยมีการควบคุมกำกับ และนิเทศงาน โดยทีมแม่ข่ายเพื่อให้เกิดบริการที่ได้มาตรฐาน
          ด้านการจัดการอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม มีการกำหนดนโยบาย ประกาศใช้ และดำเนินงานตามมาตรฐาน Green and Clean มีการจัดสภาพแวดล้อมภายใน และภายนอกองค์กร ตามมาตรฐาน ๕ ส มีการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อตามกฎหมาย มีการจัดการมูลฝอยทุกชนิดอย่างถูกสุขลักษณะ พัฒนาส้วมให้ได้มาตรฐานส้วมสาธารณะไทย (HAS) มีมาตรการประหยัดพลังงานและดำเนินการอย่างเคร่งครัดทั้งองค์กร มีกิจกรรมส่งเสริมด้านโภชนาการ อาหารปลอดภัย และผักปลอดสารพิษ มีการจัดสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และพื้นที่พักผ่อน เพื่อสร้างความผ่อนคลายให้แก่บุคลากรในองค์กร และผู้รับบริการทุกท่าน
หมวดที่ ๒ การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
          การได้มาซึ่งปัญหาจากการประชาคมหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการระบุปัญหา และมีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโดยการประชุมทีมพัฒนา รพ.สต. THS  มีการควบคุมกำกับงานเป็นระยะ มีการสนับสนุน ร่วมคิด/วางแผนงานกิจกรรม โดยชุมชนและภาคีเครือข่าย โดยรพ.สต.ตำบลหินมูลได้รับการสนับสนุนให้มีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ ๑ คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระยะยาว  (Care Giver) จำนวน ๕ คน ลาออก 1 คน มีการแจ้งแผนงานโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ/กิจกรรมของชมรมสาวน้อยตำบลหินมูล  ในเวทีประชาคม มีช่องทางการสื่อสารทั้งทางวาจา การประชุมคณะกรรมการทำงานของทีมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลหินมูล ทุก 3 เดือน  มีทะเบียนการคัดกรอง และการจัดทำแผนการเยี่ยมรายบุคคล และเยี่ยมบ้านร่วมกันทั้ง คณะกรรมการชมรม แกนนำเยี่ยมบ้านตำบลหินมูล นายกอบต.หินมูล พัฒนากร อสม. และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.หินมูล การดำเนินงานเยี่ยมบ้านเดือนละ 1 ครั้ง โดยนายกอบต.หินมูลสนับสนุนบุคคลากรในการร่วมปฏิบัติงานในรูปแบบข้าราชการและพาหนะเพื่อใช้ในการเยี่ยมบ้าน และสนับสนุนอาหารกลางวันสำหรับทีมเยี่ยมตำบลหินมูล และในปี 2561 ทางวัดหินมูล และวัดสิงห์เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุจะออกดำเนินการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและสนับสนุนอ้อมสำเร็จรูป และสังฆทานที่มีมากเกินความจำเป็นจะนำไปมอบให้แก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ
หมวดที่ ๓ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
         มีการจัดระบบบริหารทรัพยากรบุคคล โดยครอบคลุมกระบวนการตามคุณลักษณะ มีการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นตามภาระหน้าที่ มีแผนการจัดจ้างบุคลากรในส่วนที่ขาด ทำงานร่วมกันเป็นทีม มีระบบพี่สอนน้องเพื่อพัฒนาหน้างานให้สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของชุมชน มีการออกติดตามเยี่ยมบ้าน และควบคุมโรคแบบเป็นทีม เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในองค์กร มีการใช้ระบบ Happinometer เป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินความสุขในชีวิตของบุคลากร มีการแก้ปัญหาความสุขที่น้อยที่สุด ๓ ลำดับท้าย โดยการสร้างความผูกพันในองค์กร ดูแลให้ความช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระ สร้างความผ่อนคลายในชีวิตให้แก่ทุกๆคน ปัญหาด้านสุขภาพเงินมีการส่งเสริมให้บุคลากรเข้าถึงการใช้บริการของ Happymoney เพื่อสร้างความคล่องตัวทางด้านการเงิน นอกจากนั้นยังมีการสร้างความผูกพันระหว่างรพ.สต.และชุมชน ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การจัดงานปีใหม่ สงกรานต์ วันเด็ก และสร้างความสุขให้แก่ชุมชน
หมวดที่ ๔ การจัดระบบบริการครอบคลุมประเภทและประชากรทุกกลุ่มวัย
          มีการจัดระบบงานและกระบวนการบริการที่ครอบคลุมทุกประเภทงาน และประชากรทุกกลุ่มวัย มีการจัดบริการที่สอดคล้องกับประเด็นปัญหา OTOP ได้แก่ปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแลจากครอบครัวและสังคมการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลหินมูล โดยใช้กระบวนการ UCCARE มีการกำกับติดตามงานบริการทั้งเชิงรุก และเชิงรับ มีฐานข้อมูลผู้รับบริการ มีช่องทางการเข้าถึงบริการทั้งเชิงรุกและเชิงรับ มีระบบบริการให้คำปรึกษา ผ่านช่องทางโทรศัพท์ line มีการประชาสัมพันธ์ตารางการให้บริการ มีการจัดระบบคิวเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม มีช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้สูงอายุ (อายุเกิน ๗๐ ปี) ผู้พิการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการควบคุมมาตรฐานการให้บริการโดยการใช้ CPG / Flow Chart และระบบการส่งต่อ ที่ได้รับการสนับสนุนโดยรพ.บางเลน อีกทั้งยังกำหนดให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น และได้มาตรฐานในการให้บริการครอบคลุมทุกประเภท บุคลากรทุกคนมีความเข้าใจ สามารถใช้ CPG และอุปกรณ์ทุกชนิดได้อย่างถูกต้อง มีการบันทึกข้อมูลการให้บริการอย่างเป็นปัจจุบัน ข้อมูลได้รับการตรวจสอบคุณภาพก่อนการส่งออก และมีการส่งออกข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีระบบการรักษาความลับ ป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลและสารสนเทศ
หมวดที่ ๕ ผลลัพธ์
5.1 ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดพื้นที่กำหนดเกี่ยวกับ OTOP (ข้อมูล HDC)
ลำดับที่
ตัวชี้วัด 
เป้าหมาย
ผลงาน
1
ร้อยละของ Healthy Ageing  ร้อยละผู้สูงอายุทุกคน (ผู้ที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป) ที่ได้รับการประเมินสมรรถนะผู้สูงอายุ เพื่อการดูแล
≥ ร้อยละ 85
86.95
5.2 ผลลัพธ์ของการจัดบริการตามตัวชี้วัด รพ.สต.ติดดาว (ข้อมูลจาก HDC)
ตัวชี้วัดการดำเนินงาน
เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
สรุปผลการดำเนินงาน
1. ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์
>60%
50.00
ผ่าน
2. ร้อยละของเด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย
>80%
100
ผ่าน
3. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้
>40%
23.33
ผ่าน
4. ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้
>50%
30.24
ผ่าน
5. ร้อยละเด็กกลุ่มอายุ 0 - 12 ปีฟันดีไม่มีผุ(Cavity free)
>56%
88.89
ผ่าน
6. ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทย
>20%
34.35
ผ่าน
7. ร้อยละของการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
<20%
31.25
ไม่ผ่าน
สรุปการประเมินตนเองตามเกณฑ์พัฒนาคุณภาพ รพ.สต.ติดดาว
หมวดที่
ร้อยละ
หมายเหตุ
หมวดที่ 1 บริหารดี
82.41
ผ่าน
หมวดที่ 2 ประสานงานดี
80
ผ่าน
หมวดที่ 3 บุคลากรดี
80
ผ่าน
หมวดที่ 4 บริการดี
85.94
ผ่าน
หมวดที่ 5 ประชาชนสุขภาพดี
80.77
ผ่าน
รวม
82.75
ผ่าน
ปัญหา/ส่วนขาด รพ.สต.ติดดาว
ปัญหา/ส่วนขาด
กิจกรรมแก้ไขส่วนขาด
1. ขาดบุคลากร เจ้าพนักงานทันตกรรม

1. ระยะสั้นประสานเครือข่าย รพ.บางเลน ในการสนับสนุนบริการทันตกรรมใน รพ.สต.
2. ระยะยาว วางแผนการจ้างเจ้าพนักงานทันตกรรม

2. แฟ้มfamily folderเก่าและชำรุด


1. ขอสนับสนุนงบประมาณจากเครือข่าย รพ.บางเลน ในการจัดซื้อ-จัดจ้างแฟ้มใส่family folder

3. โครงสร้างอาคารยังไม่เหมาะสม มีสภาพเก่าและชำรุด  ต้องซ่อมแซม/ปรับปรุง

1. ประชุมคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.ตำบลหินมูล เพื่อเสนอปัญหา และช่วยกันหาเงินบริจาคในการซ่อมแซม/ปรับปรุง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น